COURSES CATALOG

Finance for Non-Financial Professionals Workshop

DURATION

2  Days

PRICE LIST

18,500  Baht (Exclusive of VAT 7%)
Special Offer : Contact us

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ผู้ประกอบการ SMEs และผู้บริหารในองค์กรธุรกิจย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีความรู้ทางด้านการเงินและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานมากขึ้น เนื่องจาก “เงิน” เป็นพลังขับเคลื่อนที่ขาดเสียไม่ได้สำหรับองค์กรธุรกิจ ดังนั้น ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่หรือ SMEs นอกจากจะต้องมี “ความรู้พื้นฐานทางการเงิน” ที่จะวิเคราะห์ให้เห็นถึงผลจากการดำเนินธุรกิจว่าเป็นไปตามทิศทางและเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ สถานะของกิจการเป็นอย่างไร และยังมี “เงิน” เพียงพอที่จะดำเนินกิจการต่อไปมากน้อยเพียงใดแล้ว ยังต้องมีความรู้ในการจัดการทางการเงินที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น การวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงิน การลงทุน การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น ซึ่งความรู้ทางการเงินที่กล่าวถึงจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ทำให้ธุรกิจพัฒนาและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และยังช่วยป้องกัน/หลีกเลี่ยง/ลด “ความเสี่ยง” ทางธุรกิจที่สะท้อนออกมาในรูปของ “การเงิน” ที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น

เครื่องมือที่ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้ในการชี้วัดผลการดำเนินงานและสถานะของธุรกิจ ได้แก่ “งบการเงิน” ที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ให้ผู้ประกอบการ/ผู้บริหารได้เห็นถึงผลการดำเนินงาน ตลอดจนฐานะทางการเงินและสภาพคล่องของกิจการ ตลอดจนตระหนักถึงประเด็นที่ควรให้ความสนใจเมื่อต้องใช้งบการเงิน และเป็นสัญญาณเตือนภัยเกี่ยวกับความเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในธุรกิจ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

เนื้อหาของหลักสูตรนี้ นอกจากผู้ประกอบการ SMEs/ผู้บริหารที่ไม่ได้ทำงานทางด้านการเงินโดยตรง จะได้เข้าใจในการถึงการนำ “งบการเงิน” มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์กิจการแล้ว ยังจะได้เรียนรู้ความรู้ทางการเงินเบื้องต้นที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้ เพื่อพัฒนาทักษะในการนำข้อมูลทางการเงินมาใช้ ตลอดจนเข้าใจวิธีการวางแผนทางการเงินของกิจการในอนาคตได้ อันจะช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร 

  • เข้าใจความสำคัญของการเงินต่อองค์กรธุรกิจ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเงิน รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร 
  • เข้าใจพื้นฐานของหลักการบัญชีที่สำคัญและงบการเงิน 
  • เรียนรู้หลักการวิเคราะห์งบการเงินและอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ 
  • เรียนรู้แนวคิดในการคำนวณต้นทุนสินค้าและบริการ รวมถึงวิธีการคำนวณจุดคุ้มทุน 
  • เรียนรู้แนวคิดในเกี่ยวกับการจัดหาเงินของธุรกิจ – โครงสร้างของเงินทุน แหล่งเงินทุน และต้นทุนการเงิน 
  • เรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับการลงทุนของธุรกิจ – แนวคิดในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การจัดทำงบประมาณลงทุน (Capital Budgeting) และการประเมินผลตอบแทนการลงทุน 
  • เรียนรู้เกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจและการบริหารสภาพคล่อง 
  • ภาพรวมการบริหารการเงินในองค์กรธุรกิจ 
  • เนื้อหาโดยสรุป อธิบายถึงความสำคัญของการเงิน บทบาทหน้าที่ของฝ่ายการเงินในองค์กรธุรกิจ 
  • การบัญชีและความสำคัญของข้อมูลในการบริหารธุรกิจ 
  • เนื้อหาโดยสรุป อธิบายถึงความรู้พื้นฐานทางด้านการบัญชีที่ผู้ประกอบการ/ผู้บริหารต้องรู้ ความสำคัญของข้อมูลที่ได้รับจากฝ่ายบัญชีเพื่อนำมาใช้ในการบริหารธุรกิจ 
  • งบการเงินและประเภทของงบการเงิน  
  • เนื้อหาโดยสรุป อธิบายถึงหลักการของงบการเงิน รูปแบบของงบการเงิน และความสัมพันธ์ของงบการเงินประเภทต่าง ๆ 
  • การวิเคราะห์งบการเงิน และอัตราส่วนทางการเงิน 
  • เนื้อหาโดยสรุป อธิบายถึงหลักการและเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน รวมถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราส่วนทางการเงิน 
  • การคำนวณต้นทุนสินค้าและบริการ รวมถึงการคำนวณจุดคุ้มทุน 
  • เนื้อหาโดยสรุป อธิบายถึงหลักการเบื้องต้นในการคำนวณต้นทุนสินค้าและบริการ วิธีการคำนวณและวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเพื่อวางแผนกำไร 
  • ประเภทของแหล่งเงินทุนและการคำนวณต้นทุนทางการเงิน
  • เนื้อหาโดยสรุป อธิบายถึงแหล่งเงินทุนประเภทต่าง ๆ สำหรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ ข้อดีข้อเสียของแหล่งเงินทุนแต่ละประเภท การคำนวณต้นทุนทางการเงินเพื่อใช้ประกอบการพิจารณากับผลตอบแทนของโครงการ 
  • งบประมาณลงทุนและการประเมินผลตอบแทน
  • เนื้อหาโดยสรุป อธิบายถึงหลักการเบื้องต้นในการจัดทำงบประมาณลงทุน เทคนิคในการประเมินผลตอบแทนและพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน 
  • เงินทุนหมุนเวียนและการบริหารสภาพคล่อง 
  • เนื้อหาโดยสรุป อธิบายถึงหลักการของเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ การคำนวณเงินทุนหมุนเวียน สินเชื่อประเภทเงินทุนหมุนเวียนของธนาคารมีอะไรบ้าง และเทคนิคในการบริหารสภาพคล่องของธุรกิจ 
  • Workshop 
  • บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่ไม่มีพื้นฐานทางการเงินและบัญชี แต่ต้องใช้ความรู้ทางด้านการเงินประกอบการตัดสินใจ
  • ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรหรือเจ้าของกิจการ
  • ผู้จัดการหรือผู้บริหารหน่วยงาน
  • ที่ปรึกษาธุรกิจอิสระหรือผู้มีวิชาชีพทางด้านอื่น
  • บุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะพัฒนาความรู้ทางด้านการเงินธุรกิจ